ในฐานะคนไทยทุกคน เราต่างก็รู้จักอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นอย่างดี แต่คุณรู้หรือไม่ว่าองค์ประกอบของอนุสาวรีย์แห่งนี้ทุกดีเทลมีความหมายซ่อนอยู่

ถอดรหัสอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีความหมายอะไรซ่อนอยู่

มาทำความรู้จักประวัติความเป็นมา ช่วงของการเปลี่ยนผ่านระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ประชาธิปไตย พร้อมกันด้านล่างนี้

วันเดือนปีของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

ทุกการออกแบบอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 8 แห่งนี้มีความหมายที่ซ่อนอยู่เบื้องลึก รายละเอียดของอนุสาวรีย์ฯ คือปืนใหญ่สี่กระบอกหลักมีความสูง 24 เมตร พานสูง 3 เมตร มีปืนใหญ่ 75 กระบอกรายล้อม พร้อมด้วยพระขรรค์อีก 6 เล่ม หากเราถอดรหัสดูดีๆ จะพบว่าตัวเลข 24, 3, 75 แสดงถึงวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แก่ วันที่ 24 เดือน 3 ปี พ.ศ. 2475 และเลข 6 หมายถึงนโยบายการปกครองประเทศ 6 ข้อที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะราษฎร์

4 ภาพดุน บันทึกเหตุการณ์และความเปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ จากข้อมูลบนเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์รัฐสภา ยังได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับความหมายของภาพดุนที่ฐานปีกทั้ง 4 ด้านไว้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดเป็นขั้นตอนที่บอกเล่าเรื่องราว 4 ขั้นตอน ก่อนที่ไทยจะเปลี่ยนมาเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว ได้แก่ ภาพการวางแผนของคณะราษฎร์, ภาพการปฏิวัติและยึดครองการปกครองของทหาร, ภาพแสดงประชาชนประกอบอาชีพใช้แรงงาน หลังการปกครองเปลี่ยนระบอบช่วงแรกๆ และสุดท้าย คือภาพของประชาชนกับการศึกษา ศาสนา และกีฬา หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมบูรณ์ที่อยู่ภายใต้ความยุติธรรมและเท่าเทียม

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่ใช่หลัก กม.0

ไม่ใช่หลัก กม.0

แม้ว่าในบันทึกส่วนใหญ่จะระบุว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถูกใช้เป็นหลักกิโลเมตร 0 ในการเริ่มต้นทางหลวง แต่ก็ยังมีผู้คนบางส่วนที่เชื่อว่าอนุสาวรีย์ฯ แห่งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการนับหลัก กม. แต่อย่างใด เพียงแต่มีหลักกิโลเมตรที่ 0 (ที่สร้างขึ้นในวาระฉลองวันชาติ) ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันเท่านั้น โดยหนึ่งในทฤษฎีที่ยกมาสนับสนุนคือ ไม่มีการวัดระยะจากศูนย์กลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เหมือนกับการวัดจากศูนย์กลางของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสรณ์แห่งการเปลี่ยนผ่านการปกครองไทย

จากระบอบการผูกขาด เปลี่ยนมาเป็นสังคมแห่งความเท่าเทียม อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทำหน้าที่เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเสียสละของคนกลุ่มหนึ่ง ตามมาด้วยความก้าวหน้าที่ประเทศไทยได้รับ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิสูจน์ความยั่งยืนของชาติที่ปกครองโดยระบบเสรี โดยมีพลเมืองเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

บทสรุป

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยยืนเป็นสัญลักษณ์อันทรงพลังของการเดินทางของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย แต่ละองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ ตั้งแต่ความสูงไปจนถึงภาพที่มีรายละเอียด ได้รวบรวมช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและคุณค่าของพรรคประชาชน โดยไม่เพียงแต่เป็นเครื่องเตือนใจถึงความเสียสละในอดีตเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นอันยั่งยืนของประเทศต่อความเสมอภาค ความยุติธรรม และการปกครองแบบประชาธิปไตยอีกด้วย